UFABETWIN “Outdoors DNA” : กลุ่มคนรักกิจกรรมเอาต์ดอร์ที่ฝังรากลึกเข้าไปถึง “ดีเอ็นเอ”

หากพูดถึงกิจกรรมเอาต์ดอร์หรือกีฬากลางแจ้งนอกสถานที่ สิ่งที่หลายคนมักจะนึกถึงเป็นอันดับต้นๆ อาจจะเป็นอะไรง่ายๆ อย่างการออกไปเดินในพื้นที่ธรรมชาติ การตั้งแคมป์ การขี่มอเตอร์ไซค์ออกทริปต่างจังหวัด ไปจนถึงการเล่นกีฬาทางน้ำ

แต่สิ่งที่ดูจะเข้าถึงได้ยากที่สุดในบรรดากีฬานอกสถานที่อาจจะเป็น “การปีนเขา” กิจกรรมที่ต้องท้าทายความสูงที่ถ้าหากไม่รักจริงหรือไม่พร้อมจริงๆ ก็อาจจะทำไม่ได้เลย

อย่างไรก็ตาม น้อยครั้งนักที่เราจะพบกับคนที่มีงานอดิเรกสุดระห่ำเช่นนี้ในประเทศไทย คือกลุ่มคนที่รักการปีนเขาที่มารวมตัวกันโดยมีจุดเริ่มต้นมาจากความต้องการที่จะออกไปลุยกับอะไรใหม่ๆ เช่น การปีนเขาในที่ที่หลายคนอาจจะไม่ทราบหรือไม่เคยคิดว่าเป็นจุดที่สามารถปีนได้

อาจเป็นเพราะความที่แต่ละคนมีความชอบหรือ  ที่คล้ายกัน พวกเขาจึงมารวมตัวกันทำอะไรแบบนี้ได้ ไม่เพียงเท่านั้นพวกเขายังได้นำทักษะที่แต่ละคนมีเข้ามาช่วยเหลือกัน

มาร่วมทำความรู้จักกับ  ให้มากขึ้นไปพร้อมกันกับ

เราได้มีโอกาสพูดคุยกับตัวแทนของ  อันประกอบไปด้วย ดี้-ศรีพงษ์ พรรณ์แผ้ว หนึ่งในสมาชิกผู้ก่อตั้ง, โย-ภิญโญ เฉลิมวงศ์ สมาชิกของกลุ่มที่เพิ่มจะเข้ามาได้ไม่นานเนื่องจากความสนใจที่ตรงกัน ปัจจุบันเขาจึงรับหน้าที่เป็นหนึ่งในทีมงานของกลุ่มอย่างเป็นทางการ และอีกคนหนึ่งอย่าง อ๊อด-ดนัย เลขะกุล ช่างภาพประจำกลุ่มที่ต้องหามอุปกรณ์มากสิ่งขึ้นไปเก็บภาพบรรยากาศให้กับทีมเป็นประจำ

นอกจากนี้ยังได้ทำงานร่วมกับกลุ่มคนทำงานจิตอาสา คือทีมจากโรงเรียนฝึกสอนการช่วยเหลือ  ที่มีผู้ฝึกสอนชาวสิงคโปร์อย่าง  และ อ้วน-จิรภัทร ลภะวงศ์ ผู้ฝึกสอนที่เชี่ยวชาญเรื่องการดับเพลิงและการสื่อสาร ที่จะร่วมออกทริปด้วยกันและรับอาสากู้ชีพในงานกีฬาหรือกิจกรรมเอาต์ดอร์ที่พวกเขาชอบทำอยู่เป็นประจำ

เราพบเจอกับตัวแทนของ เนื่องจากพวกเขาต้องเข้าไปวางแผนเตรียมพร้อมสำหรับการออกทริปครั้งต่อไปด้วยกัน เราเริ่มพูดคุยกันในบรรยากาศสบายๆ

 

ก่อนมารวมตัวกัน แต่ละคนเริ่มชอบปีนเขาได้ยังไง?

ดี้: ผมเริ่มสนใจภูเขาเพราะการถ่ายรูป ตอนที่เรียนมหาวิทยาลัยได้มีโอกาสไปที่ดอยหลวงเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ นั่นเป็นการเดินป่าครั้งแรกของผม ผมชอบบรรยากาศทั้งความสูงและความเย็นเลยเริ่มศึกษาการปีนเขาและเดินป่ามากขึ้น พอเริ่มใช้เชือกใช้อุปกรณ์เป็นก็ยิ่งสนุก เหมือนหาตัวเองเจอ จึงเริ่มวางแผนไปออกทริปมากขึ้น เริ่มออกไปต่างประเทศ ไปทริป ที่เนปาล มองย้อนกลับไปก็ทำมาได้ประมาณ 10 กว่าปีแล้ว

โย: ของผมจะเริ่มช้ากว่าพี่ดี้ เริ่มมาได้เมื่อ 3 ปีที่แล้ว ผมได้มาเจอกับพี่ดี้แล้วก็ไปเรียนกับเขาเพราะพวกเขาเปิดสอนกัน เขาพาไปโรยตัวที่สระบุรีก็รู้สึกว่าสวย เป็นมุมที่ไม่คิดเลยว่านี่คือสระบุรี ได้ขึ้นไปทำอาหาร ชงกาแฟ บรรยากาศรอบตัวสนุก ไม่ได้เจอมุมซ้ำๆ ผมเที่ยวเยอะจนพี่ดี้เห็นว่าไปด้วยกันเยอะแล้ว สุดท้ายก็ชวนมาเป็นสตาฟฟ์ด้วยกัน

 

กลายเป็นที่ชอบกีฬาเอาต์ดอร์แบบเข้าเส้น?

อ๊อด: ใช่ แต่จริงๆเราทำกิจกรรมอื่นด้วย ไม่ใช่แค่ปีนเขา ทำทุกอย่างที่เป็นกีฬาเอาต์ดอร์ ขี่มอเตอร์ไซค์ วิ่งเทรลก็มี หรือบางทีมีคนพาครอบครัวไปด้วยไปตั้งแคมป์เฉยๆก็มี การอยู่ในวงมันสนุก

โย: ดีเอ็นเอที่ว่าคือเรามีลักษณะการเที่ยวคล้ายกันด้วย อะไรก็ตามที่ออกไปข้างนอกเราก็สนุก ไม่ได้ฟิกซ์ว่าจะต้องตามแผนเป๊ะๆ ทุกอย่างมันยืดหยุ่นได้ เพราะเรารู้อยู่แล้วว่ามันไม่ได้ดั่งใจทุกอย่าง ยกตัวอย่างเช่น ตอนที่เราไปอินเดีย อยู่ดีๆไฟลท์เครื่องบินเราถูกยกเลิกเพราะหิมะถล่ม เลยกลับไม่ได้ สรุปก็ต้องเช่ามอเตอร์ไซค์ขับไปแทน ไม่มีใครมากดดันใคร ไปเรื่อยๆ นี่คือ

ดี้: เราไม่ได้มุ่งเน้นแค่การปีนเขา ไม่ได้หมายความว่าจะต้องทำสำเร็จตลอด แต่เราไปแล้วเราต้องสนุก ต้องสนุกตั้งแต่วางแผน เริ่มเดินทาง ระหว่างเดินทาง นั่นคืออรรถรส

 

UFABETWIN

 

หลักๆคือทำเป็นรูปแบบการเที่ยวแบบ 

ดี้: ใช่ เราจะหาคนที่สนใจมารวมตัวกันเพื่อที่จะหารค่าใช้จ่าย เพราะว่าเรื่องพวกนี้มันมีค่าใช้จ่ายอยู่แล้ว แต่ส่วนมากเราจะเอาเงินไปให้กับชาวบ้านในพื้นที่ที่เราไป เหมือนแลกกับการดูแลประมาณหนึ่ง

โย: ค่าใช้จ่ายที่เราเก็บเหลือแบ่งกันคนละ 85 บาท (หัวเราะ) หลักๆคือเราไม่ได้อยากทำเพราะเงินและเราไม่รับคนที่เยอะจนดูแลไม่ไหว เงินที่ได้เราก็จะเอาไปลงกับค่าอาหารและค่าที่พัก เช่น เอาเงินไปซื้อของให้ผู้ใหญ่บ้านทำกับข้าวให้กิน

แต่พอเป็น แล้วก็ยังพาคนอื่นไปท้าทายด้วย?

โย: ต้องบอกว่าพวกผมเป็นคนที่ชอบเที่ยวต่างจากคนทั่วไป ลองนึกภาพสถานที่ที่คนไปเดินประจำ เช่น เขาช้างเผือก กับบางคนเขาก็ไม่เคยมองหามุมแปลกๆเพื่อถ่ายรูป แต่เขาไม่เคยโรยตัวลงไป หรือพูดถึงสระบุรีที่ส่วนมากมีแต่โรงปูนเต็มไปหมด ในทางกลับกัน พอเราได้ไปปีนเขา มองลงมาก็เจอไร่องุ่นบ้าง หรือบางมุมอย่างกับกุ้ยหลินประเทศจีนเลย สำหรับผมคือการเปลี่ยนมุมมอง

 

แสดงว่าในประเทศไทยก็มีที่ที่น่าสนใจเยอะ?

ดี้: ถ้าเป็นการปีนเขาแบบ จริงๆก็มี ซึ่งส่วนมากเขาจะเจาะทำเป็นที่ไว้โดยเฉพาะ แต่ของเราจะไม่ใช่แบบนั้น เราจะไม่ไปยุ่งเกี่ยวกับการเจาะ เพราะฉะนั้น เราจะไม่ บนผาใหญ่ แต่เราใช้ผาใหญ่โรยตัวลงมา ไฮไลท์ของประเทศไทยก็จะมีเขาทะลุนี่แหละ ชาวต่างชาติมาเห็นเขายังมองว่าเหมือน  ของประเทศไทยเลย รูบนผาก็ใหญ่ขนาดที่ว่าเฮลิคอปเตอร์ยังเข้าได้ เพราะความใหญ่ของรูนี่แหละที่ผมมองว่าที่นี่เป็นไฮไลท์

ถ้าจะออกทริปใหญ่สักครั้งต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง?

ดี้: ก่อนอื่นถ้าเราจะจัดทริปสักทริปว่าจะไปไหนหรือทำอะไร เราต้องไม่ทำเหมือนบริษัททัวร์ หลักๆคือเราไม่อยากไปแย่งลูกค้าเขา (หัวเราะ) ถ้าเขาตัดสินใจไปกับเรา ผมก็จะให้เขาเตรียมร่างกายประมาณเดือนถึงสองเดือนครึ่ง พวกเราจะคอยเตือนกันตลอดว่าวันนี้วิ่งหรือยัง? อุปกรณ์เช็คหรือยัง?

โย: เราเตรียมตัวกันนานมาก อย่างอินเดียที่เคยไป เราออกเดินทางช่วงเดือนเมษายน ตอนสงกรานต์ พี่ดี้ก็ให้ผมวิ่งตั้งแต่ตุลาคม (หัวเราะ) ต้องฟิต ต้องวิ่งทุกวัน ว่ายน้ำ เช่น วันหนึ่งเนี่ยต้องวิ่งให้ได้อย่างน้อย 20 กิโล ต้องค่อยๆฝึก คือบางคนถ้าไม่ฟิต เดิน 3 ก้าวก็ต้องพักแล้ว หน้าซีดเลยก็มี แต่ก็ไม่มีอะไรน่าห่วง เพราะเราก็ดูแลกันตลอด

 

ก็ต้องเตรียมร่างกายกันหนักก่อนไปทุกครั้ง?

ดี้: ใช่ เราต้องคอยไกด์เขาระดับหนึ่งเลย ถ้าคนที่ไม่เคยออกกำลังกายมาก่อนเราก็จะแนะนำว่า คุณควรที่จะเริ่มเดินหรือเริ่มทำอะไรต่อเนื่องให้ถึง 30 นาที แล้วคุณลองดู Heart Rate ว่าขึ้นเท่าไหร่ ค่อยๆปรับเพิ่มกันไป บางทริปเราจะชัดเจน เช่น ถ้าต้องไปเรื่องของความสูงอย่างในอินเดียหรือเนปาล ถ้าเกิดขึ้นยอดมันต้องเกิน 5-6 พันเมตรอยู่แล้ว ทนความกดอากาศได้ไหม? ลองใส่แมสก์วิ่ง 10 กิโลเมตรดูว่าเป็นยังไง? คือเราต้องบอก มันต้องให้เขาตระหนักว่า คุณอย่าประมาท เพราะมันมีความอันตรายแอบแฝงอยู่

ฟังดูอันตรายขนาดนี้ เคยมีเหตุการณ์เสี่ยงตายกับงานอดิเรกนี้กันบ้างไหม?

ดี้: ตอนไปเขาทะลุที่จังหวัดชุมพร ผมเจอซุงท่อนใหญ่ผ่าเข้ามากระแทกถือว่าร้ายแรงไหม? (หัวเราะ) ตอนนั้นเราเดินเป็น  ลักษณะของทางคือจะเป็นทางเดียวที่ทุกคนต้องปีนขึ้นไปทีละคน ตัวผมอยู่เกือบล่างสุด อยู่ดีๆก็ได้ยินคนตะโกนว่า “ไม้!” ประกอบกับจังหวะที่ผมต้องปีนหน้าผาขึ้นมา ตอนนั้นไม่มีที่หลบ ถ้าผมหลบคือตกหน้าผา สรุปคือรับเต็มๆที่หัว แต่ดีที่ใส่หมวกกันน็อกบวกกับเอาแขนขึ้นมาช่วยกันไว้ทัน นอกจากครั้งนี้ก็มีที่สระบุรีอีกรอบ ผมเคยโดนหินทับ เรื่องมันเริ่มมาจากตอนที่เดินเขาแล้วผมเป็นคนที่ต้องไปเปิดเส้นทาง ผมเดินผ่านหินก้อนใหญ่ๆก้อนหนึ่ง แล้วพอก้าวไปหินมันพลิกตัว ผมเลยล้ม หินก็ร่วงลงมาทับขา ตอนนั้นอยู่กับเพื่อนอีก 3 คน พอดีว่าผมยังมีสติก็เลยบอกให้เพื่อนหาอะไรมางัด พอเขายกขึ้นมาได้ ด้วยความที่ไม่มีใครเคยเรียน  (การปฐมพยาบาลในถิ่นทุรกันดาร) มีแค่ความรู้ลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ (หัวเราะ) ผมเลยได้แค่กิ่งไม้ 2 อันมาดามแล้วก็เอาผ้ามาพันไว้ เพื่อนก็หิ้วปีกลงจากภูเขาไปเอ็กซ์เรย์ที่โรงพยาบาล สรุปคือขาไม่หักด้วย เหมือนมันไปกดทับกล้ามเนื้อแทน ทำแผลอยู่เป็นเดือนเพราะต้องขูดเนื้อตายออกเรื่อยๆ

 

โย: ของผมมีทั่วๆไป มีหินตกใส่หัว หัวกระแทกหน้าผาตอนเดิน แต่ว่าครั้งที่รู้สึกว่าน่ากลัวคือที่อินเดีย ตอนจะขึ้นไปที่ระดับความสูง 5,300 เมตร คือเวลาเราจะขึ้นยอดแรก ส่วนใหญ่เขาจะขึ้นกันตอนกลางคืน ต้องตื่นตอนตี 1 เพื่อออกเดินทาง ยิ่งขึ้นที่สูงก็จะยิ่งเจออาการที่เรียกว่า แพ้ความสูง เป็นอาการที่เกิดภายใน แต่ละคนเกิดไม่เหมือนกัน เกิดไม่เท่ากัน ไม่เกี่ยวกับความแข็งแรงของร่างกายด้วย คืนก่อนเดินทางผมไม่ได้นอน ปวดหัวจนต้องลุกมาสวดมนต์เลย (หัวเราะ) แบบขอให้ผ่านไปได้ กินยาถี่มากจนได้นอนตอน 5 ทุ่ม แต่เที่ยงคืนก็ต้องตื่นแล้ว ระหว่างคนที่ไปด้วย ส่วนมากก็แพ้ความสูงหมด คนที่เดินด้วยกันบางก็เริ่มพูดไม่รู้เรื่อง สรุปที่ออกเดินทางตั้งแต่ตีหนึ่งจนสิบโมงยังไม่ถึงเลย แล้วไม่ถึงยอดด้วย ได้แค่ 4,800 เมตร แต่ก็ดีใจมาก เห็นหน้าเข้มๆกันแบบนี้ ตอนนั้นทุกคนร้องไห้ (หัวเราะ) ดีใจที่พวกเราปลอดภัย แล้วก็ตรงนั้นแหละที่บอกว่า ถ้าไม่ได้ไปกับคนที่มีความรู้ มันอันตราย เพราะว่าจะไม่มีใครดูออก

 

แปลว่ายังมีคนที่มองข้ามเรื่องความอันตรายอยู่?

โย: ข้ามอย่างมาก บางคนที่เคยไปออกทริปการปีนริมผากับพวกเราแล้วเขาไม่เซฟเลยก็มี เพราะเขาคิดว่าเขาเอาอยู่ ก็แยกกันไปกางเต็นท์เพราะบางคนเคยไปกับกลุ่มอื่นเขาก็มีวิธีการอีกแบบ

ดี้: บางคนเขาคิดว่าเอาอยู่ สุดท้ายร่วงตุ้บเลยก็มี หรือถ้ากับการปีนเขาขึ้นที่สูง ถ้าเขาป่วยเราก็ต้องเอาเขาลงมาให้ได้ การขึ้นเขามันไม่ได้มีแค่ขาขึ้นรอบเดียว ขึ้นไปถึงยอดแล้วก็ต้องลงด้วย ซึ่งขากลับยากกว่าขาขึ้นอีก (หัวเราะ) ส่วนมากอัตราการเสียชีวิตตอนลงจะมีมากกว่าตอนขึ้นทุกยอด เพราะงั้นต้องมีแรงระดับหนึ่งเลย ไปถึงต้องลงอีก หรือถ้ามีปัญหาตั้งแต่ตอนขึ้นก็ต้องลงเดี๋ยวนั้น เราจะต้องรู้ว่าสถานที่ที่ไปจะมีผลยังไงกับคนไทย เมื่อคุณไปอยู่ในที่สูง ร่างกายจะไหวไหม? เราต้องเตรียมพร้อมตลอด บางคนไม่ได้ตระหนักตรงนี้มันก็เลยมีอุบัติเหตุ เราจึงพยายามสอนว่า เที่ยวให้ถูกต้องทำยังไง จะได้ปลอดภัยทั้งตัวเองและคนรอบตัว ตั้งแต่การเตรียมร่างกายไปจนถึงการใช้อุปกรณ์

 

UFABETWIN

 

กับเรื่องความปลอดภัยต้องละเอียดแค่ไหน?

ดี้ : ตอนที่เริ่มใหม่ๆ เคยรู้สึกสงสัยว่าสิ่งที่เราทำกันอยู่เนี่ยปลอดภัยหรือเปล่า? เพราะเราอาจจะชอบลักษณะที่ว่า เดินเที่ยวภูเขา เป็นคนที่เคยไปแบบไม่มีความรู้เลยเหมือนกันจนได้มาเจอกับทีมซัปพอร์ตทีมหนึ่ง ตอนไปถ้ำน้ำบ่อผี จังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นหลุมยุบที่มีความลึกที่สุดในประเทศไทยที่กว่า 180 เมตรได้ เราก็เริ่มคิดได้ว่า ถ้าเราเริ่มหาความรู้ในส่วนนี้ด้วยก็น่าจะดีสำหรับอนาคต ทีมเราจะได้ปลอดภัยมากขึ้นด้วย

 

เลยเอาความรู้ด้านนี้มาทำจิตอาสาด้วย?

ดี้: กับเรื่องการรักษา เราตั้งใจจะปิดความเสี่ยงให้ได้ ต้องหาแหล่งความรู้แบบจริงจัง มีคนแนะนำให้เรามาเรียนหลักสูตรเรื่องการช่วยเหลือที่ Solutions ตั้งแต่คอร์สการปฐมพยาบาลไปจนถึงระดับ และการช่วยเหลือในพื้นที่ทุรกันดาร กลุ่มเราก็ได้ทำงานกับที่นี่ไปด้วยและเริ่มมีกิจกรรมร่วมกัน อย่างต้นเดือนหน้าเราก็จะไปงานวิ่งเทรลตะนาวศรี ไปเป็นทีมกู้ภัย บางทีก็มีไฟไหม้บนภูเขา พวกเราก็ไปช่วยดับ ช่วยพระเปลี่ยนธงบนภูเขาก็ทำ (หัวเราะ)

 

เที่ยวอย่างเดียวก็ได้ แล้วทำไมถึงอาสาทำ?

ดี้: ผมเคยวิ่งเทรลกับวิ่งมาราธอนมาก่อนแล้วเคยน็อก เกิดอาการบาดเจ็บ ตะคริวขึ้นหนักมาก จากประสบการณ์ของผม ในงานนั้นไม่มีทีมกู้ภัยเลย เคยโดนแบบนี้สองครั้ง รู้สึกว่าเราต้องทำตรงนี้ให้ดีกว่านี้ ให้คนที่เขาเจ็บปลอดภัย เรารอดจากตรงนั้นมาได้ เราก็อยากจะพัฒนาตรงนี้ให้ดีขึ้นด้วย

 

พอมาเป็นอาสาสมัครร่วมด้วยไม่กดดันเหรอ?

ดี้: เราจะประเมินความเสี่ยงก่อน ถ้าไม่ปลอดภัยเราก็จะไม่ทำ แต่ถ้าตรงไหนรู้สึกว่าเราปิดความเสี่ยงได้ เราก็จะทำ

 

ได้ใช้ทักษะของตัวเองไปช่วยคนอื่นแล้ว ในอนาคตอยากจะทำอะไรเพิ่มเติมอีก?

ดี้: เวลาไปเราไปเจอที่แปลกๆที่น่าสนใจและดูเป็นแหล่งท่องเที่ยวได้ พวกผมก็จะเข้าไปหาพวกผู้ใหญ่บ้าน ไปคุยกับเขาว่าพื้นที่ตรงไหนสามารถสำรวจได้บ้าง พวกนี้ที่เคยไปดูมาก็มีที่สระบุรี ที่วัดถ้ำพระโพธิสัตว์ เราจะให้ความสำคัญกับการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ว่าทำยังไงให้ชุมชนมีเศรษฐกิจที่พัฒนาต่อทางด้านท่องเที่ยวได้ด้วย

 

คนที่อยากเริ่มตามไปด้วย หลักๆต้องมีคุณสมบัติอะไรบ้าง?

อ๊อด: อย่างแรกต้องชอบธรรมชาติก่อนเลย เพราะพื้นฐานอยู่ตรงนี้ ถ้าไม่ชอบก็จะไปเจอเรื่องที่ยากกว่านี้ไม่ได้ เราสามารถเริ่มจากขับรถท่องเที่ยวก็ได้ ถ้ามากกว่านั้นก็อาจจะเดินป่า 3 วัน 2 คืน หรือจะเป็นแค่คนรักกิจกรรมกลางแจ้งก็ได้ทั้งนั้น บางคนก็ไปเดินชิลเฉยๆก็มี

โย: คือจริงๆเรามีระดับให้เลือกในแต่ละทริป สมมติว่าถ้าอยากเริ่มก็ต้องมาดูว่าจะเริ่มที่ไหนได้บ้าง ระดับแรก เลเวลที่ 1 บางที่ขับรถก็ถึงเลย ไปถึงโรยตัว หน้าผาไม่คม บางครั้งเทรนนิ่งหน้างานก็ได้ แต่ถ้ามีเลเวลที่ยากขึ้นก็ต้องมาดูว่ามีอุปกรณ์หรือเปล่า? ร่างกายพร้อมหรือเปล่า? ก็ต้องมาเตรียมกัน แต่ถ้าใจชอบคือเลือกระดับได้เลย ลูกพี่ 9 ขวบยังไปปีนเชือกด้วยเลยบางที (หัวเราะ)​ ลูกสาวพี่ดี้อายุ 12 ก็เล่นมาตั้งแต่ 8 ขวบ เป็นสิ่งที่เริ่มได้ง่ายๆ หลายคนขึ้นไปก็รู้สึกว่ามันไม่ได้ยากขนาดนั้น

 

ไปสุดกันขนาดนี้แล้ว มีวันที่คิดจะเลิกไหม?

ดี้: (นิ่งคิด) สำหรับผม ไม่นะ เราชอบภูเขาสูง เรารู้สึกอยากไปตลอด มันไม่ได้ทำให้เราเบื่อเลย

โย: ก็คงเที่ยวไปเรื่อยๆ อาจจะมีเปลี่ยนรูปแบบบ้าง อาจจะไม่ได้ปีนเวอร์ๆทุกครั้ง แต่ถ้าตราบใดที่มันยังไปได้ พี่เชื่อว่าก็คงไป คือใจมันรักแล้วก็ต้องหาสถานที่หาวิธีไปจนได้ ถ้าถามว่าเลิกไหม? มันน่าจะยาก มันเคยเสพติดกับธรรมชาติ เราก็คงหาวิธีได้เอง วันหนึ่งถ้านั่งรถเข็นก็อาจจะให้คนเข็นขึ้นไปแล้วก็โรยเชือกลงมาทั้งรถเลยก็ได้ (หัวเราะ) ถ้าเราชอบ เราก็ต้องหาวิธีจนได้

UFABETWIN

You may also like...